เช็คตัวเองด่วน! คนแบบไหน ที่บริษัทไม่อยากรับเข้าทำงาน

17 กันยายน 2019
หากคุณกำลังทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ที่ไหนสักที่บนโลกใบนี้ และหน้าที่ที่คุณได้รับมอบหมายคือฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR นั้นเอง คุณคงทราบดีว่างานนี้มีความท้าทยอยู่มาก ไม่ใช่แค่เพียงการคัดกรองเรซูเม่จากผู้สมัครจำนวนมากอย่างเดียว การสัมภาษณ์งานก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ท้าทายไม่แพ้กัน เพราะต้องใช้เวลาสั่นๆ สัมภาษณ์ผู้สมัครเพื่อที่จะได้รู้จักตัวตนของพวกเขามากขึ้น
,,
ผ่านบุคคลิกและทัศนคติว่าเขาเหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับหรือไม่ แต่ก็มีหลายครั้งที่ HR อาจจะยังลังเลใจรู้สึกว่า เอ๊ะ! ผู้สมัครคนนี้ใช่คนทีี่ควรจะรับเข้าทำงานจริงหรอ? และควรเข้ารับทำงานมากแค่ไหน? วันนี้ Daywork เลย ชี้เป้า! 7 สัญาณเตื่อน ผู้สมัครงานแบบไหนไม่ควรรับเข้าทำงานที่ จะเป็นตัวช่วยให้คุณพิจรณาผู้สมัครได้ง่ายขึ้น เพราะถ้ามีสัญญาณเตื่อนเหล่านี้ แม้มีทักษะความสามารถพิเศษที่ดีแค่ไหนก็คงต้องไตร่ครองให้รอบครอบอีกครั้ง
,,
1. อยากทำงาน แต่ครอบครัวไม่สนับสนุนงานนี้!
,ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนใกล้ตัวและคนในครอบครัวคือส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกตัดสินใจของผู้สมัคร ถ้าคนในครอบครัวของเขาไม่แนะนำ หรือไม่สนับสนุนงานนี้ผู้ที่มาสมัครมาสัมภาษณ์ก็อาจจะส่งผลเสียต่อบริษัทและตัวเขาเองในอนาคต
,,
หากคุณลองนึกภาพบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องออกมาทำงานไกลบ้าน ต้องเช่าหออยู่คนเดียวเพื่อให้เดินทางได้สะดวกทั้งๆที่ผู้ปกครองของพวกเขาสนับสนุนให้เลือกทำงานใกล้บ้านมากกว่า ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น คุณในฐานะ HR ก็ต้องดูให้ดีกว่าจะเกิดปัญหาอะไรตามมาอีกบ้าง
,,
2. คิดลบ! พูดถึงแต่แง่ลบของบริษัทเดิม
,หากผู้สมัครงานของคุณเป็นคนที่พึงลาออกจากบริษัทเก่ามา คงเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเปลี่ยนงานจะรู้สึกไม่พอใจ หรือไม่มีความสุขจนต้องหางานใหม่ แต่ถ้าผู้ที่มาสัมภาษณ์เอาแต่พูดเรื่องแง่ลบของบริษัทเดิม ก็พอทำให้คุณเริ่มมองเห็นได้ว่าเขาพร้อมที่จะตำหนิผู้อื่นอยู่เสมอจนบางครั้งก็ดูไม่เป็นมืออาชีพในการทำงานมากพอ ทั้งที่จริงแล้วเขาควรควบคุมสติตัวเองให้ได้แล้วอธิบายว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เขาไม่มีความสุขในการทำงาน หรือเลือกที่จะลาออกจากที่เก่ามากกว่า
,,
3. ความผิดพลาดของตัวเอง ไม่เคยมองเห็น!
,ไม่เคยมีใครในชีวิต ไม่เคยผิดพลาดในการทำอะไรสักอย่างในชีวิต และความผิดพลาดมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆเมือเข้าสู่การทำงาน ไม่ว่าเราจะเป็นคนเก่งหรือสมบูรณ์แบบขนาดไหน แต่เรื่องแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นได้เสมอ และเมือคุณถามผู้สมัครได้เรียนรู้อะไรบ้าง? จากความผิดพลาดในอดีต และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
,,
แต่หากขาเลือกที่จะไม่บอกหรือตอบว่าไม่มี ก็ไม่แน่ใจว่าเขาอาจจะกำลังปิดบังอะไรเราอยู่ นั้นเอง นอกจากนี้จะเป็นจุดสังเกตุได้ว่า คนที่รู้ข้อด้อยของตัวเอง กล้ายอมรับข้อผิดพลาด มักจะเป็นคนที่เปิดใจรับฟังความเห็นและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเสมอ
,,
4. อวดแต่พองาม หากอวดมากไปคงไม่ไหว!
,คุณมักจะเจอผู้สมัครที่จะเล่าข้อดีของตัวเขาเองให้เราฟัง เพื่อดึงดูดความสนใจให้คุณพิจรณาเขาได้ไวมากขึ้นนั้นเอง แต่นั้นก็แสดงออกถึงความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีของการทำงาน แต่ในการสัมภาษณ์งานถ้าพูดถึงความสำเร็จมากเกินไปจนเกินพอดี ก็อาจจะกลายเป็นเหมือนการพูดโอ้อวดจนเริ่มน่าสงสัย
,,
ถ้าหากเรารู้สึกว่าผู้สัมภาษณ์พูดค่อนข้างเกินความเป็นจริง หรือเวลาที่เรามีข้อสงสัยแล้วเขาตอบได้แค่กว้างๆ นั่นก็อาจจะเป็นสัญญาณเตื่อนให้ต้องถามตัวคุณอีกครั้งแล้ว ว่าผู้สมัครคนนี้ยังน่าสนใจอยู่รึเปล่านะ?
,,
5. เลี่ยง! พูดสาเหตุที่เปลี่ยนงาน
,คงเป็นเรื่องธรรมดาที่ HR จำเป็นที่จะต้องรู้สาเหตุของการลาออกของผู้สมัครงาน แต่ถ้าผู้สมัครไม่บอกสาเหตุของการเปลี่ยนงาน หรือเลี่ยงที่จะตอบ และถึงจะตอบก็อธิบายแบบคลุมเครือ คุณก็ต้องพิจารณาให้ดีกว่าว่าทำไมเขาถึงไม่บอก เพราะนี้อาจจะหมายถึงว่าเขาลาออกจากที่เก่าด้วยสาเหตุที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ถ้าคุณจะเสี่ยงรับก็อาจจะเกิดผลเสียกับบริษัทในอนาคตก็ได้ เดียวหาว่า Daywork ไม่เตื่อนน๊าา…
,,
6. เงินไม่มา งาน (ไม่) เดิน
,คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไรหรอก ที่คนมาทำงานจะคิดเรื่องเงินเดือนมาเป็นอันดับต้นๆ และสวัสดิการและค่าตอบอทน แต่ถ้าหากคุณเห็นว่าผุ้สมัครมองเรื่องพวกนี้สำคัญมากกว่างานที่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ละก็.. ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตื่อนได้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจทำงานเต็มที่ แถมยังพร้อมจะลาออกไปอยู่ที่อื่นเมื่อเจอข้อเสนอที่ดีกว่าอีกด้วย ทำแบบนี้นายจ้างไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ คุณในฐานะ HR ต้องคิดดีดีแล้วละ!
,,
7. อารมณ์ไม่ดี ควบคุมไม่เป็น!
,การควบบคุมอารมย์ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการกระทำทุกๆสิ่ง ยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องการทำงาน เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานหรือผู้อื่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะตำแหน่งหน้าที่ ที่ต้องออกไปพบลูกค้าก็ยิ่งต้องควบคุมอารมย์ตัวเองให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า! ถ้าควบคุมอารมย์ตัวเองไม่ได้ส่งผลกระเทบต่อผู้อื่น บริษัท และอีกมากมาย มันแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพของผู้สมัคร
,,
โดยคุณลองสังเกตผู้สมัครของเราว่าเขาควบคุมอารมย์ตัวเองได้ไหม ถ้าเกิดบางคำถามที่ถามออกไปแล้วเขาแสดงอารมย์โกรธ ไม่พอใจ ร้องไห้ พูดสะบัดเสียง ตื่นเต้น ประหม่า ตอบติดๆขัดๆ ผิดๆถูกๆ หรือตอบคำถามทั่ว ๆ ไปไม่ได้ นี้อาจจะเป็นสัญญาณเตื่อนให้เหล่า HR ทั้งหลายต้องคิดหนักด้วยเหมือนกันนะ!
,,
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? เหล่า HR ทั้งหลายกับบทความที่ Daywork เอามาให้ในวันนี้ การหาพนักงานที่เหมาะสมไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องมีวิธีการที่ดี หาคุณไม่อยากเหนื่อยกับการคัดกรองคนเข้าทำงานสามารถใช้บริการ Daywork บริษัทจัดหาพนักงานพาร์ทไทม์ที่ใหญ่อันดับต้นๆในไทย ลดความยุ่งยากและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรของคุณได้อีกด้วย เยี่ยมชมเว็บไซต์บริษัทของเรา และตามหาพนักงานพาร์ทไทม์ที่ประสิทธิภาพกันได้เลยคะ
,,
หากไม่อยากพลาดความสนุก อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก!!
,5 ข้อดีของการให้ Daywork ช่วยหาเด็ก Part-time
,5 เหตุผล ที่บริษัทใหญ่ควรเลือกใช้ เด็กพาร์ทไทม์
,ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องการ จ้างพาร์ทไทม์
,,
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่
,Facebook: daywork.th
,LINE: @daywork
,Twitter: @DayworkOfficial