ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำยังไง ที่นี่มีคำตอบ

ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำยังไง ที่นี่มีคำตอบ

calendar

17 สิงหาคม 2020

จากบทความ การหักภาษี ที่จ่าย คืออะไร และ ทำไมถึงต้องหัก ?  วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการ ขอคืน ภาษี”หัก ณ ที่จ่าย” ว่าต้องทำยังไง ขอคืนที่ไหน เช็คสถานะการขอคืนยังไง ที่นี่มีคำตอบ!


 

หัวข้อสำคัญ

  • ใครบ้างที่มีสิทธิขอคืน ภาษี “หัก ณ ที่จ่าย” ได้ ?

  • วิธีการขอคืนภาษีแบบออนไลน์ 

  • ช่องทางการรับเงินภาษีคืน

  • แบบฟอร์มและเอกสาร ที่ต้องยื่นพร้อมกับการขอคืน

  • สถานที่ ที่เราจะไปยื่นคำร้องขอคืนภาษี

  • หากไม่มีการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตามเวลาที่กำหนด

    • ค่าปรับอาญา 

    • เงินเพิ่ม

 


 

 

                        daywork-ใครบ้างที่ขอคืนภาษีได้

 

ใครบ้างที่มีสิทธิขอคืน ภาษี “หัก ณ ที่จ่าย” ได้ ?

 

1. ทุกคนที่เสียภาษี ที่อาจจะมีการจ่ายภาษีเกินไว้ จ่ายผิด หรือ จ่ายซ้ำ

2. ผู้ที่จ่ายภาษี หัก ณ ที่จ่าย ไปแล้ว และมีภาษีเกินเนื่องจากการได้รับ เครดิตภาษี

3. ผู้ที่ไม่มีหน้าที่ ที่จะต้องเสียภาษี แต่มีถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะด้วยเหตุ ใดก็ตาม

4. ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ทำเรื่องจ่ายภาษีผิดหรือซ้ำ

5. ผู้เสียประโยชน์จากการนำส่งภาษีไว้เกินหรือผิดหรือซ้ำ หรือโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย

 

 

วิธีการขอคืนภาษีแบบออนไลน์

 

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
  2. สมัครเข้าใช้งานและเข้าสู่ระบบ
  3. ทำการกรอกข้อมุลภาษีให้เรียบร้อยและตรวจสอบความถูกต้อง
  4. จะมีการแจ้งผลทันทีในหน้าเว็บหลังจากที่เราใส่ข้อมูลและยืนยันการยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว 

               - ในกรณีที่ไม่ต้องมีการให้ชำระภาษี หรือ ได้มีการชำระภาษีไว้เกิน จะแสดงหน้าจอโดยมีข้อความว่า "กรมสรรพากรได้รับข้อมูลการยื่นแบบเรียบร้อยแล้ว" พร้อมแสดงหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบและวันที่ยื่นแบบ ให้พิมพ์แบบเก็บไว้เป็นหลักฐาน

 

 

ช่องทางการรับเงินภาษีคืน

หลังจากที่เราได้ทำการยื่นภาษีไปแล้วและกรรมสรรพากรอนุมัติเงินคืนภาษีให้เรา เราสามารถรับเงินคืนภาษาได้ตามช่องทางต่อไปนี้

  1. พร้อมเพย์ (แนะนำช่องทางนี้จะสะดวกที่สุด)
  2. รับเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย
  3. รับเงินคืนเข้า e-wallet ของธนาคารกรุงไทย

 

 

ในกรณีที่ไม่สะดวกยื่นแบบออนไลน์ก็สามารถไปยื่นเอกสารที่กรมสรรพากรได้อีกทางหนึ่ง ตามนี้เลย

 

                    daywork-แบบฟอร์ม

 

แบบฟอร์มและเอกสาร ที่ต้องยื่นพร้อมกับการขอคืน

 

ให้ผู้มีสิทธิขอคืน “ภาษี ณ ที่จ่าย” ยื่นคำร้องขอคืนเงินตาม แบบ ค.10 เป็นรายเดือนภาษี พร้อมแนบเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่ามีการนำส่งภาษีไว้เกินหรือผิดหรือซ้ำ หรือโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ดังนี้

1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

2. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) 

3. สำเนาแบบแสดงรายการที่นำส่งภาษี พร้อมใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ

4. หลักฐานการแจ้งหนี้

5. หลักฐานการรับเงิน

6. ใบสำคัญจ่าย

7. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ในกรณีของน้องที่ทำงานกับ Daywork สามารถขอเอกสารรับรองหรือใบ 50 ทวิ กับ Daywork ได้เลยค่ะ)

8. อื่นๆ ที่ต้องใช้ในการพิจารณาคืนเงิน

 

 

                        daywork-สถานที่

 

 

สถานที่ ที่เราจะไปยื่นคำร้องขอคืนภาษี 

 

หลังจากที่เราเตรียมเอกสารครบถ้วนและถูกต้องแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องไปยื่นเอกสารที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ของผู้มีสิทธิขอคืนภาษี 

 

ระยะเวลาที่เราสามารถขอคืน ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ได้ (อายุความขอคืน)

 

ผู้มีสิทธิขอคืนสามารถยื่นคำร้องขอคืนภายในอายุความ ดังนี้ 

 

1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

1.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงิน ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ตามมาตรา 63

1.2 ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียภาษีเงินได้เกินไปไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงิน (แบบ ค.10) เป็นรายปีภาษี ภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ตามมาตรา 27 ตรี

 

2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.1 ให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยื่นคำร้องขอคืน ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้น

2.2 ให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ยื่นคำร้องขอคืนเงิน ภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบ

 

หากไม่มีการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตามเวลาที่กำหนด จะต้องถูกลงโทษด้วยนะ 

 

บทลงโทษแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อดังนี้

 

ค่าปรับอาญา 

กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

เงินเพิ่ม

หากผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินย่อมมีความรับผิดในภาษีที่ไม่หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งร่วมกับผู้มีเงินได้ และต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดการยื่นแบบ

 

 

สุดท้ายแล้ว หากเราต้องการที่จะทำเรื่องขอคืน “ภาษี ณ ที่จ่าย” เราก็ควรที่จะเตรียมข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม เพื่อให้เกิดความสะดวกกับตัวผู้ยื่นขอคืนและกับเจ้าหน้าที่ ที่ต้องดำเนินการให้เรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้านภาษีได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร  www.rd.go.th 

 

*สามารถเข้าไปดู คำถามที่พบบ่อย ได้เป็นอีกช่องทางหนึ่ง หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

 

ติดตามข่าวสารของ Daywork ได้ที่

Facebook: daywork.th

LINE: @daywork

Twitter: @DayworkOfficial

 

 

 

 

 

อ่านบทความต่อ

ดูทั้งหมด
background-jobpost

หากคุณกำลังมองหาพนักงานพาร์ทไทม์ ? มาลงประกาศตามหากับเรา

หาพนักงาน ประกาศงานได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ประกาศงานฟรี ได้พนักงานดี รวดเร็ว ทันใจ

model-home-5